วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อนาคตของเด็กไทย ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน



ปัจจุบันโลกของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามามีบทบาทในสังคมไทย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัย จนอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว นั่นอาจหมายถึง คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากใช้อย่างสร้างสรรค์ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ ทั้งด้านการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดจนการค้นหาความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ บนโลกอินเตอร์เน็ต

แต่ที่น่าเป็นห่วง คือเด็กและเยาวชนบางส่วนยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี เพราะบนโลกอินเตอร์เน็ต ที่มีความหลากหลายชวนให้ค้นหานั้น นอกจากจะให้ความรู้และคุณประโยชน์แล้ว ยังแฝงไว้ด้วยภัยหรืออันตรายแก่ผู้ใช้ หากรู้ไม่เท่าทัน

มีผู้ปกครองหลายคนอาจยังไม่เข้าใจ หรือยังไม่ทราบถึงภัยอันตรายต่างๆ ที่แฝงมากับโลกอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างเช่นเด็กอาจพบเจอข้อความที่มีเนื้อหาส่อไปในทางลามก อนาจาร ที่อยู่ในสื่อโฆษณาต่างๆ บนเว็บไซต์นั้น

นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์การพนัน ที่แฝงมากับเกมออนไลน์ เปิดให้บริการโดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย คือเป็นการเล่นพนันในลักษณะสะสมแต้ม เพื่อแลกรับของรางวัล หรือการซ่อนของรางวัลไว้ในบางจุดของเกม ซึ่งหากผู้เล่นหาเจอก็สามารถเข้าไปรับของรางวัลนั้นได้ที่บริษัท

มีงานวิจัยหลายชิ้น ระบุว่า พ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ตของลูกมากนัก จากการสำรวจพ่อแม่ 300 ราย ที่มีลูกใช้อินเตอร์เน็ต ร้อยละ 40 ตอบว่า ไม่เคยตรวจสอบการสอบใช้อินเตอร์เน็ตของลูก มีเพียงร้อยละ 24 เท่านั้นที่ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ในขณะที่อีกร้อยละ 26 ตอบว่าไม่ทราบจะตรวจสอบอย่างไร

จากผลการสำรวจ ทำให้ทราบว่า พ่อแม่สื่อสารกับลูกน้อยมากในเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งช่องว่างนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นทั้งช่องว่างระหว่างวัยและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ปัญหาการล่อลวงผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่รู้จักกัน “Chat room” เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการป้องกันและปราบปราม อย่างจริงจังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่บุตรหลานอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่วัวหายแล้วมาล้อมคอกทีหลัง อย่างที่เคยเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง

ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาใหม่เพิ่งเกิด แต่เป็นมานานและสะท้อนให้เห็นถึงภัยที่แอบแฝงกับเทคโนโลยีไร้พรมแดน สถานการณ์ของสังคมไทยในภาวะขาลงแต่อันตรายมากขึ้นโดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ

คงไม่ใช่ภาระหรือหน้าที่ของใครโดยเฉพาะ แต่เป็นทุกฝ่ายที่ต้องร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา สำคัญที่สุดคือสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของทั้งความคิดแลการกระทำ

เพราะอนาคตของชาติ คงไม่ใช่ใครที่ไหน ลูกหลานของเรานั่นเอง
อนาคตของเด็กไทยในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นกับเด็กผู้ใหญ่แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือมันเข้ามามีบทบาทขึ้นกับเด็กมากขึ้นซึ่งเด็กนี้ไม่สามารถที่จะแยกแยะออกได้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร และทั้งนี้ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ใหญ่ขาดความรู้ที่จะแนะนำเด็กให้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง จึงเป็นปัญหาที่เกิดขึนในสังคมมากขึ้น





ทิวา อัมพเศวต
มรภ.สวนดุสิต ศูนย์จรัลสนิทวงศ์

http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=56&nid=18954

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น